Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


2จังหวะ, 4จังหวะ, สายพาน, RETRO และ CUSTOM RETRO, CHOPPER, STUNT, KSR, BIG BIKE ทุกรุ่นทุกยี่ห้อพร้อม board พูดคุย, ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน, โชว์สองล้อคู่ใจ, และเทคนิคต่างๆ...ภาพสาวซ้อนท้าย-สาวสก๊อย
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)
2จังหวะ, 4จังหวะ, สายพาน, RETRO และ CUSTOM RETRO, CHOPPER, STUNT, KSR, BIG BIKE ทุกรุ่นทุกยี่ห่อพร้อม board พูดคุย, ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน, โชว์สองล้อคู่ใจ, และเทคนิคต่างๆ...ภาพสาวซ้อนท้าย-สาวสก๊อย

 

 น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ

Go down 
5 posters
ผู้ตั้งข้อความ
mingserpico

mingserpico


จำนวนข้อความ : 225
Points : 283
Join date : 19/07/2009
: 41
ที่อยู่ : สงขลา

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeSat Jul 25 2009, 22:39

น้ำมันเบรค ... ต้องใช้เป็นจึงจะปลอดภัย

การเลือกน้ำมันเครื่องและเลือกกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ไม่มีวันจบสิ้นในกลุ่มคนรัก รถถนอมรถนะครับ แต่เราเกือบจะไม่เคยได้ยินใคร ที่ถกกันถึงปัญหาการเลือกน้ำมันเบรคและอายุใช้งานของ มัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? เพราะผู้ใช้รถจินตนาการถึงหน้าที่ของน้ำมันเครื่องได้ง่ายกว่ามาก เช่น มันมีหน้าที่ หลักคือหล่อลื่น (ทั้งๆ ที่หน้าที่อื่นๆ ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน) ถ้าได้ของดีและของใหม่บ่อยๆ ด้วยแล้ว เครื่องยนต์ของเราก็จะสึกหรอช้ามีอายุยืนยาวนั่นเอง ส่วนหน้าที่ของน้ำมันเบรคนั้น จินตนาการได้ยากกว่า มากครับ ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ถ้าคุณภาพไม่ดีพอหรือหมดอายุใช้งานแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น

น้ำมันเบรคเป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ "ตัวกลาง" ในการส่งแรงจากแม่ปั๊มเบรค ที่เราเหยียบแป้นเบรคให้ลูกสูบในนั้นทำงานไปยังลูกสูบที่ก้ามเบรค (แบบจาน) หรือกระบอกเบรค (แบบดุม) โดยการไหลของน้ำมันเบรคภายใต้ความดัน น้ำมัน เบรคทำงานให้ระบบเบรค เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยกับความปลอดภัยโดยตรงจึงต้อง "รับมือ" ได้ทุกสภาวะขณะถูกใช้งาน และสภาวะที่ว่านี้ คือการรับมือกับความ ร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่างผ้าเบรคและจานเบรค ความร้อนจะกระจายให้ ทุกสิ่งรอบข้าง เพราะฉะนั้นความร้อนก็จะถูกถ่ายเทให้แก่น้ำมันเบรคด้วย น้ำมัน เบรคจึงต้องไม่เดือดง่ายเมื่อถูกความร้อน เพราะของเหลวที่เดือดเป็นไอแม้ เพียงบางส่วน จะไม่สามารถส่งผ่านแรงในรูปของความดันสูงได้ เพราะพอเกิด ความดันที่มีค่าสูงกว่าความดันไอของมัน ไอนี้ก็จะหดตัวกลับเป็นของเหลวตาม เดิม ถ้าน้ำมันเบรคเดือดอยู่แล้วเราเหยียบแป้นเบรค ลูกสูบในแม่ปั๊มเบรคก็ จะ เคลื่อนตัวไปจนสุดพร้อมกับ ที่แป้นเบรคยุบตัวจนยันพื้น โดยไม่สามารถส่งน้ำมัน เบรคความดันสูง ไปยังลูกสูบของก้ามเบรคหรือของกระบอกเบรคที่ล้อได้เลย นอก จากนี้น้ำมันเบรคยังทำหน้าที่หล่อลื่นลูกสูบของระบบเบรคด้วย ถ้าต้องการแค่ น้ำมันที่เดือดยากและหล่อลื่นได้มาเป็นน้ำมันเบรคละก็ น้ำมันไฮดรอลิคทั้งหลาย รับงานนี้ได้สบายครับ แต่น้ำมันเบรคต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญมากที่สุด อยู่อีกอย่างหนึ่ง คือต้องดูดกลืนหรือละลายน้ำที่พลัดหลงเข้ามาในระบบได้ด้วย

สมมติว่าน้ำมันเบรคไม่มีคุณสมบัติข้อนี้ แล้วมีน้ำหกลงไปในถ้วยน้ำมันเบรค ซึ่ง โอกาสนี้เกิดขึ้นได้ง่ายครับ ไม่ว่าจะเป็นขณะล้างรถ ล้างห้องเครื่องยนต์ ฯ น้ำมัน ไฮดรอลิคทั่วไปจะไม่ละลายผสมกับน้ำ น้ำซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า จะจมอยู่ ด้านล่างเสมอ แล้วก็จะไหลไปยังแม่ปั๊มเบรค แล้วไหลลงต่ำต่อไปยังกระบอกสูบ หรือก้ามเบรค เมื่อใดที่ก้ามเบรคร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส น้ำนี้ก็จะเดือดเป็น ไอ ทำให้ระบบเบรคของเราทำงานไม่ได้ทันที

เพื่อให้น้ำมันเบรคมีคุณสมบัติครบถ้วน คือเป็นของเหลวที่ทนความร้อนได้โดย ไม่เสื่อมสภาพ มีจุดเดือดสูง ต้องหล่อลื่นได้ดีทั้งโลหะกับโลหะและโลหะกับยาง (ระบบเบรคต้องอาศัยชิ้นส่วนที่เป็นยางช่วงทำงานด้วย ต้องไม่ทำปฏิกิริยากับ ยาง) และต้องละลายและดูดซึมน้ำเข้าตัวมันจนเป็นเนื้อเดียวกันได้ด้วย น้ำมันหล่อ ลื่นต่างๆไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลยครับ เพราะมันไม่ยอมปนกับน้ำและยัง "กัด" ยางทั่วไปด้วย วิศวกรระบบเบรคก็เลยต้องอาศัยสารเคมีมาช่วย ที่สำคัญราคา ต้องสมเหตุสมผลด้วย จึงได้สารประกอบพวกโพลีไกลคอลมาให้พวกเราใช้กัน ผสมสีให้ดูน่าเลื่อมใส และมองเห็นระดับของมันในถ้วยน้ำมันเบรคแล้วขาย

จุดเดือดของน้ำมันเบรคใหม่ตอนเปิดกระป๋อง อยู่ที่ราวๆ 300 เซลเซียส ซึ่งถือว่า สูงมาก ผู้ใช้รถอย่างเราต้องไม่เปิดโอกาสให้อากาศซึ่งมีไอน้ำ เจอกับน้ำมันเบรคของเรา โดยการเติมน้ำมันเบรคให้สูงถึงขีดบนตั้งแต่แรก (MAX) ปิดฝาให้สนิทแล้วไม่ เปิดอีกโดยไม่จำเป็น การตรวจระดับน้ำมันเบรค ควรใช้วิธีมองด้านข้าง ถ้าไม่แน่ ใจให้ใช้ไฟฉายส่องด้านข้างแล้วเขย่าตัวรถแรงๆ ก็จะเห็นระดับน้ำมันเบรคที่กระ เพื่อม ระดับน้ำมันเบรคจะยุบตัวลงไปเล็กน้อย เพราะต้องไปแทนที่ปริมาตร จาก การที่ลูกสูบเคลื่อนที่ออกมา เพราะผ้าเบรคสึกหรอ คอยตรวจว่ามันยุบลงไปใน อัตราที่ช้าเป็นปกติเท่านั้น จนระดับลดลงเกือบถึงกึ่งกลางระหว่างขีดบน (MAX) และขีดล่าง (MIN) จึงค่อยจัดการเติม เพราะทุกครั้งที่เราเปิดฝาถ้วย จะเป็นการ พาความชื้นใหม่มาให้น้ำมันเบรค ถ้าระดับลดลงมาก ต้องให้ช่างตรวจสอบทันที เพราะต้องมีการรั่วเกิดขึ้นแน่นอน

น้ำมันเบรคจะสะสมน้ำเข้าตัวตลอดเวลา ทำไมต้องกลัวมันดูดไอน้ำด้วย ? เพราะ มันทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรคลดลงอย่างมากครับ จากจุดเดือดระดับ 300 เซลเซียส เมื่อออกจากกระป๋องวันแรก (มาตรฐาน DOT 3) พอมีน้ำปนเพียง 1 % ตามปริมาตร จุดเดือดจะลดลงเหลือราวๆ 200 เซลเซียสเท่านั้น ถ้าปน 3 % ก็จะ ลงมาอยู่ที่ 140 เซลเซียส เริ่มอันตรายแล้วครับ เพราะอุณหภูมิระดับนี้เกิดที่ก้าม เบรคได้ไม่ยากขณะขับรถลงเขา บางคนบอกว่าใช้รถในเมืองล้วนๆจะมีอะไรหรือ เปล่า ? มีแน่ครับ เพราะถึงจะไม่กลัวปัญหาน้ำมันเบรคเดือด การมีน้ำจากไอน้ำ ในอากาศปนอยู่ในน้ำมันเบรคเกินปกติ ทำให้เกิดสนิมครับ ผนังกระบอกสูบของ แม่ปั๊มเบรค ที่ผุกร่อนเป็นหลุมเล็กๆ ก็มาจากความชื้นหรือน้ำในน้ำมันเบรคนี่เอง ทำไมจึงเกิดสนิมกับเหล็กทั้งๆ ที่แช่อยู่กับน้ำมันเบรค เพราะเราเข้าใจกันว่า "น้ำมัน" ทั้งหลายเป็นสารกันสนิม เพราะน้ำมันเบรคดูดไอน้ำในอากาศเข้าตัวมัน ได้ตลอดเวลานั่นเอง ทำให้มีความชื้นในน้ำมันเบรค

เมื่อเราผู้ใช้รถ และพวกที่สร้างรถไม่สามารถป้องกันความชื้นเข้าถึงน้ำมันเบรค ก็ต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรคก่อนที่มันจะชื้นจนสร้างความเสียหายได้ (มีน้ำมันเบรค พิเศษแบบไม่ดูดความชื้นขายในท้องตลาดเหมือนกันครับ ขอผลัดไว้ฉบับหน้า) โรงงานรถยนต์หลายแห่งกำหนดไว้ว่า "ทุกๆ 2 ปี" ไม่ไหวแน่ครับ จากประสบ การณ์ส่วนตัวของผม มันนานเกินไปทำให้เกิดความเสียหายมามากแล้ว อาจเป็น เพราะประเทศผู้ผลิตรถ เขาไม่อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น เหมือนบ้านเรา โรงงาน รถที่พิถีพิถันกับชื่อเสียงและคุณภาพหลายแห่ง จึงเปลี่ยนมาเป็น "ปีละครั้ง" สำหรับผู้ที่ใช้รถในเมืองไทยควรจะเปลี่ยนทุกๆ 8 ถึง 10 เดือน

ค่าน้ำมันเบรคที่เปลี่ยนใหม่ กระป๋องละราวๆ 200 บาท บวกค่าแรงอีกนิดหน่อย แต่ผลตอบแทนนั้นมหาศาล ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่น่าจะต้องเปลี่ยน อะไหล่ ของระบบเบรคที่ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันเบรคเลย

เชื่อไหมครับว่าแม่ปั๊มเบรคที่ช่างเปลี่ยนกันเป็นว่าเล่น หรือชุดซ่อมแม่ปั๊มเบรค กว่าร้อยละ 70 น่าจะรั่ว เพราะขาดการเปลี่ยนน้ำมันเบรคตามกำหนดที่สมควร เท่านั้นเอง
ขึ้นไปข้างบน Go down
mingserpico

mingserpico


จำนวนข้อความ : 225
Points : 283
Join date : 19/07/2009
: 41
ที่อยู่ : สงขลา

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeSat Jul 25 2009, 22:42

เห็นว่ามีปรโยชน์เลยก๊อปมาให้เพื่อนนักบิดได้อ่านกันครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
2lor
Admin
2lor


จำนวนข้อความ : 144
Points : 322
Join date : 11/06/2009

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeMon Jul 27 2009, 11:47

ส่วนมากก็ดูที่ถูกสุด ขวดละ 20-30 บาท ก็หน้าจะพอใช้ได้...คราวนี้คงต้อง หยุดความเข็มของตัวเองแล้วหาเกรดที่ดีกว่านี้มาใช้บ้าง
ถ้ามีเทคนิคที่มีประโยดต่อชาว 2LOR-CLUB อีกรบกวน คุณ mingserpico เอามาลงอีกนะครับ ขอบคุณอีกทีครับ :cheers: :cheers:
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.2lor.net
ZAC-MAN

ZAC-MAN


จำนวนข้อความ : 361
Points : 531
Join date : 11/06/2009
: 45
ที่อยู่ : นนทบุรี

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeMon Jul 27 2009, 15:20

wow...ขอบคุณนะครับ Shocked
ขึ้นไปข้างบน Go down
BoyNSR150

BoyNSR150


จำนวนข้อความ : 180
Points : 301
Join date : 11/06/2009
: 43

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeTue Jul 28 2009, 15:28

ขอบคุณครับ
blow me blow me
ขึ้นไปข้างบน Go down
VINCENT

VINCENT


จำนวนข้อความ : 43
Points : 47
Join date : 25/07/2009
: 46

น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ   น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ I_icon_minitimeThu Sep 24 2009, 12:21

ผมเคยใช้ของถูก เบรคแข็งมากเลยครับ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
น้ำมันเบรคก็สำคัญเหมือนกันนะครับ
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: 2 จังหวะ :: เทคนิคต่างๆ-
ไปที่: